อบต. มีหน้าทตามพระราชบัญญัตสภาตำบลและองค์การบรหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552)
1. พัฒนาตําบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66) 2. มีหน้าที่ต้องทําตามมาตรา 67 ดังนี้ (1) จัดให้มีและบํารุงทางน้ําและทางบก (2) การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกําจัดขยะมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (6) ส่งเสริมการพฒนาสตรีเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ (7) คุ้มครอง ดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (8) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย 3. มีหน้าที่ที่อาจทํากิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้ (1) ใหม้ีน้ําเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร (2) ใหม้ีและบํารุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (3) ใหม้ีและบํารุงรักษาทางระบายน้ํา (4) ใหม้ีและบํารุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ (5) ใหม้ีและส่งเสริมกลมเกษตรกร ุ่ และกิจการสหกรณ ์ (6) ส่งเสริมใหม้ีอุตสาหกรรมในครอบครัว (7) บํารุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ (8) การคมครองด ุ้ ูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต. (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ (12) การท่องเที่ยว (13) การผังเมือง อํานาจหน้าที่ ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กําหนดให้ อบต.มีอํานาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตาม มาตรา 16 ดังนี้ 1. การจัดทําแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง 2. การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบกทางน้ํา และทางระบายน้ํา 3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ 4. การสาธารณูปโภค และการก่อสร้างอื่นๆ 5. การสาธารณูปการ 6. การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ 7. คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อ 8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว 9. การจัดการศึกษา 10. การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส 11. การบํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น 12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 13. การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 14. การส่งเสริมกีฬา 15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน 16. ส่งเสริมการมีสวนร ่ ่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น 17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง 18. การกําจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ําเสีย 19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล 20. การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน 21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ 22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ 23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ 24. การจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25. การผังเมือง 26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร 27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ 28. การควบคุมอาคาร 29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสรมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอกภัยในชีวิต และทรัพย์สิน 31. กิจการอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนด อบต. มีความสําคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตําบล) ดังนี้ 1. เป็นองค์กรที่ทําหน้าที่พัฒนาตําบล ให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 2. เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่น ๆ รวมทั้งหน่วยราชการ และหน่วยเอกชน อื่น ๆ 3. เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น (สมาชิกสภา อบต.) เข้าไปมีส่วน ร่วมในการตัดสินใจใช้งบประมาณ รายได้ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น 4. เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถิ่น ให้ทํางานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นใน ท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต. 5. ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทํางานและใช้สิทธิ ถอดถอน ผู้แทนของตน (สมาชิกสภา) ที่ไม่ทํางานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น โครงสร้างอบต.ประกอบด้วย 1. สภาองค์การบริหารสวนตำบล (สภา อบต.) 2. คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตําบล (นายก อบต. และรองนายก อบต.) สภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบลเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารกิจกรรมขององค์การบริหาร ส่วนตําบล 2. พิจารณาและใหความเห ้ ็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบลร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปี และร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม 3. ควบคุมกาการปฏิบัติงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การ บริหารส่วนตําบล ข้อบัญญัติระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และรับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตำบลให้ เป็นไปตามกฎหมายนโยบายแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้อบัญญัติระเบียบและข้อบังคับของทางราชการ 2. สั่งอนุญาตและอนุมัติเกี่ยวกับราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล 3. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลและเลขานุการนายกองค์การบริหารสวนตำบล 4. วางระเบียบเพื่อให้งานขององค์การบริหารส่วนตําบลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 5. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติและกฎหมายอื่น บทบาทหน้าที่ของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล สมาชิกองค์การบริหารส่วนตําบลมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกประธาน รองประธาน และเลขานุการสภาองค์การ บริหารส่วนตําบล จาก ส.อบต. ที่มีอยู่ในสภา สามารถทําหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังเช่น การตั้งกระทู้ถามนายกองค์การบริหารส่วนตําบลหรือรองนายกองค์การบริหารส่วนตําบลในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับงานใน หน้าที่ การเสนอบัญญัติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้นายก อบต. แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในปัญหา เกี่ยวกับการบริหาร อบต. โดยไม่มีการลงมติได้เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของนายก อบต. ให้เป็นไปตามกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล ข้อบัญญัติระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการ นอกจากนี้ส.อบต. ยังมีบทบาทหน้าที่ในกระบวนการนิติบัญญัติได้แก่การลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบ แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตําบล เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงานของ อบต. การพิจารณาและให้ความเห็นชอบ ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตําบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม แนวทางปฏิบตัิในด้านบทบาทและหน้าที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติมีดังนี้ 1. ต้องยึดมั่นในกติกาประชาธิปไตย เช่น การเลือกต้องโดยเสรีการใช้สิทธิคัดค้าน การโต้แย้ง การแสดงความ คิดเห็น อย่างกว้างขวาง การยอมรับและเคารพสิทธิของผู้อื่นการยอมรับความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ฯลฯ 2. ต้องมีวิถีการดําเนินชีวิตและบุคลิกลักษณะที่เป็นการส่งเสริมประชาธิปไตย เช่น เป็นผู้มีจิตใจกว้างขวาง ฟังเคารพ ในเหตุผล
ประชาชนมีความสําคัญอย่างไรต่อ อบต. การทำให้ประชาชนเกิดความผาสุก มีความเป็นอยู่ที่ดีได้รับการอํานวยความสะดวก และได้รับการตอบสนอง ความต้องการ เป็นเป้าหมายของ อบต. เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ดําเนินงานกับ อบต. ด้วย ซึ่งมีสาระสําคัญดังนี้ (1) คัดเลือกคนดีมีความรู้ความสามารถเหมาะสมเข้าไปมีหน้าที่ฝ่ายนิตบิัญญัติของ อบต. คือ สมาชิกสภา อบต. และฝ่ายบริหาร อบต. คือ นายก อบต. ด้วยการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น (2) เข้าไปบริหารงาน อบต. โดยตรง ด้วยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก อบต. หรือนายก อบต. (3) ลงคะแนนถอดถอนสมาชิกสภา อบต. หรือนายก อบต. ตามที่กฎหมายกําหนดหากเห็นว่าผู้นั้นไม่ สมควรดํารงตําแหน่งต่อไป (4) เข้าชื่อกันเสนอให้สภา อบต. ออกข้อบัญญัติอบต. ตามที่กฎหมายกําหนด (5) เข้าฟังการประชุมสภา อบต. อย่างสม่ําเสมอ (6) ติดตามข้อมูลข่าวสารของ อบต. อย่างสม่ําเสมอ ร่วมกิจกรรมต่างๆที่อบต. จัดขึ้น ตรวจสอบการทํางานและพฤติกรรมของบุคลากร อบต. ให้คําแนะนําหรือสนับสนุนการดําเนินงานของ อบต. (7) ร่วมจัดทําแผนพัฒนาของ อบต. ทั้งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วน ตําบลของ อบต. (8) ร่วมเป็นคณะกรรมการในการจัดซื้อ หรือการจัดจ้างโครงการต่างๆ ของ อบต. ทั้งโดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา หรือวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อยคณะละ 2 คน (9) ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และข้อบญญั ัติของ อบต. (10) เสียภาษีให้แก่อบต. อยางครบถ้วน (11) ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองจากการกระทําฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของ ประชาชน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตาม หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอํานาจหน้าที่ของนายก อบต. รองนายก อบต. ประธานสภา อบต. หรือรองประธานสภา อบต. หากมีพฤติกรรมดังกล่าว นายอําเภอจะดําเนินการสอบสวนแล้ว รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตําแหน่ง (12) ประชาชนจะได้รับการแก้ไขปัญหา พัฒนาความเป็นอยู่และได้รับการบริการสาธารณะจาก อบต. ตามอํานาจหน้าที่ของ อบต.
******************************************************** |